เส้นทางการเป็นพระอัครมเหสี “แห่งราชสำนักไทย”

คำว่า “สมเด็จพระราชินี” เป็นอันทราบกันดีอยู่แล้วว่า คือตำแหน่งของพะอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายท่านอาจคุ้นชินกับราชอิสริยยศของพระอัครมเหสีที่อ่านว่า สมเด็จพระนางเจ้า...พระบรมราชินี

คำว่า “สมเด็จพระราชินี” เป็นอันทราบกันดีอยู่แล้วว่า คือตำแหน่งของพะอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายท่านอาจคุ้นชินกับราชอิสริยยศของพระอัครมเหสีที่อ่านว่า สมเด็จพระนางเจ้า…พระบรมราชินี เช่น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 แต่กับตำแหน่งที่ออกพระนามเพียง สมเด็จพระราชินี…(พระนาม)…อาจจะเป็นตำแหน่งที่ไม่คุ้นชินสักเท่าไหร่ เพราะเป็นอิสริยยศของพระอัครมเหสี ที่พระราชสวามีของพระองค์ยังไม่เข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังที่จะขออธิบาย แลยกตัวอย่างถึงความเป็นมาของตำแหน่งนี้ คือ


จากภาพซ้ายคือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7
ฉายพร้อมกับเครื่องยศราชูปโภค ตำแหน่งพระอัครมเหสี

จากภาพขวาคือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ 7
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 9 เข้ารับน้ำมหาสังข์ ในวันสถาปนา

1. หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ทรงเสกสมรสกับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ทำให้หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สถิตอยู่ในตำแหน่งของ พระชายา รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (สายสะพายสีชมพู)สถิตในที่ของสะใภ้หลวง ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต ราชสมบัติตกที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ พระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทันที และเฉลิมพระยศหม่อมเจ้าหญิงพระชายา ขึ้นเป็น “พระวรราชชายา ” แลพระราชทานเครื่องราชฯมหาจักรี (สายสะพายสีเหลือง) เมื่อถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จึงสถาปนา หม่อมเจ้าพระวรราชชายาอีกครั้ง ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สูงสุดในฝ่ายใน

2. หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ทรงหมั้นกับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ทำให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ อยู่ในฐานะของพระคู่หมั้น จนกระทั่งปีถัดมา พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดให้จัดพระราชพิธีราชาอภิเษกสมรสขึ้น แลโปรดให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาพระคู่หมั้นขึ้นเป็น”สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์” ในที่ของพระอัครมเหสี แลพระราชทานเครื่องราชฯมหาจักรี (สายสะพายสีเหลือง) ต่อมาในปีเดียวกันนั้น พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จึงสถาปนาอีกครั้ง ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี สูงสุดในฝ่ายใน

3. พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้า ชั้นสูงสุด ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (สายสะพายสีชมพู) สถิตในตำแหน่งพระภรรยาขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จนกระทั่ง วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 โปรดให้อาลักษณ์อ่านราชโองการสถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินีสุทิดา” ในที่ของพระอัครมเหสี แลพระราชทานเครื่องราชฯ มหาจักรี (สายสะพายสีเหลือง) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยการนี้สมเด็จพระเทพฯ ทรงประทับอยู่ ณ ที่แห่งนั้น และลงพระนามเป็นองค์พยานด้วย

ในวันที่ 5 พ.ค. 2562 จะมีการพระราชพิธี แลพระราชโองการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศของเจ้านาย ในพระราชวงศ์จักรีตามโบราณราชประเพณี ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน

ขอบคุณที่มา: คลังประวัติศาสตร์ไทย