ทส.แถลงผลดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ครึ่งปีแรก 2564

สืบเนื่องจากปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะช่วงต้นปี ซึ่งปัญหาฝุ่นของประเทศมักจะรุนแรงมากกว่าช่วงอื่นโดยกรุงเทพ และปริมณฑลมักเกิดวิกฤติในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์
.
ขณะที่พื้นที่17 จังหวัดในภาคเหนือเกิดในช่วงกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และภาคใต้เกิดในช่วงกรกฎาคมถึงสิงหาคม การป้องกันแก้ไขปัญหามีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน และต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐเอกชน และประชาชนในการแก้ไขปัญหารัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ห่วงใย และให้ความสำคัญ กับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเป็นอย่างยิ่ง โดยกำหนดให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็นวาระแห่งชาติ
.
และต่อมาได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติโดยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบ แผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ

นอกจากนี้พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ยังได้ลงมากำกับการดำเนินงานอย่างเต็มที่ทั้งการให้นโยบาย และการติดตามการดำเนินงานเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านฝุ่นละอองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งในครึ่งปีแรก2564 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจ 12 ข้อ ได้แก่ สื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้คลอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนนตรีเป็นประธาน และได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)

กำหนดพื้นที่กรมควบคุมมลพิษ เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ประสานติดตามบูรณาการ การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รวมถึงสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ภายใต้ คณะกรรมการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งขาติ
.
โดยมี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธานเพื่อเป็นกลไกหลักในการกำกับดูแล และรับมือสถานการณ์
รวมถึงบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าโดยการเก็บขน และใช้ประโยชน์เศษวัสดุในป่า (ชิงเก็บ ลดเผา) และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใน 17 จังหวัดภาคเหนือ
.
ส่วนการสร้างเครือข่ายอาสาสมัคร และจิตอาสาเป็นกลไกหลักเข้าถึงพื้นที่ ทั้งสื่อสารติตตามเฝ้าระวัง และดับไฟเร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า
พร้อมเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
.
อีกทั้งการพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วันเพื่อแจ้งเตือนประชาชนหรือประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่
.
นอกจากนี้ ต้องพัฒนาระบบคาดการณ์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจรวมถึงการใช้งานแอปพลิเคชันบัญชาการการดับไฟป่า พร้อมทั้งบริหารจัดการเชื้อพลิง โดยใช้แอปพลิเคซันลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิง ซึ่งได้พัฒนาแอปพลิเคชัน บริหารการเผาในที่โล่ง (Burn Check)เพื่อจัดระเบียบการจัดการเชื้อเพลิงให้เกิดการเผาให้น้อยที่สุด
.
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการใช้งาน ทั้งนี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้และลดการเผาป่าผ่านการจัดที่ดินทำกินการดำเนินงานตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเพื่อร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในภูมิภาค

.
แม้ว่าที่ผ่านมาจะยังมีข้อจำกัดในการติดตามตรวจสอบและรายงานคุณภาพอากาศที่ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด หากแต่การเพิ่มสถานีใน 77 จังหวัด ก็ได้มีการบรรจุในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ ภายในปีงบประมาณ 2567
.
สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองที่มีข้อจำกัดของระยะเวลาในการพยากรณ์ที่ใช้เวลาในการประมวลผลนานได้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำ Super Computer มาใช้ในการประมวลผล เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ล่วงหน้า ๗ วัน ส่วนเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย แม้จะมีข้อจำกัดเนื่องจากการควบคุมแหล่งกำเนิดหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นแต่ละประเภทเป็นอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน แต่การบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6การบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร5 ก็ถูกบรรุจไว้ในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ เช่นกัน โดยให้มีการบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม2567 นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามมติประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
.
จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรก2564 จำนวนจุดความร้อนภายในประเทศลดลงมากถึงร้อยละ 50 และจำนวนวันที่ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานลดลงถึง19 จังหวัดและไม่เกินค่ามาตรฐานเลยถึง 6 จังหวัด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี2563 เผาในที่โล่ง(BurnCheck) เพื่อจัดระเบียบการจัดการเชื้อเพลิงให้เกิดการเผาให้น้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการใช้งานและพร้อมจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้และลดการเผาป่าผ่านการจัดที่ดินทำกิน
.
สุดท้ายการดำเนินงาน เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเพื่อร่วมมือกับประเทศ สมาชิกอาเซียนในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาหมอกควันและไฟป่าในภูมิภาค
.
แม้ว่าที่ผ่านมาจะยังมีข้อจำกัดในการติดตามตรวจสอบและรายงานคุณภาพอากาศที่ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัดการเพิ่มสถานีใน77 จังหวัดก็ได้มีการบรรจุในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ ภายในปีงบประมาณ 2567
.
สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองที่มีข้อจำกัดของระยะเวลาในการพยากรณ์ที่ใช้เวลาในการประมวลผลนาน ได้มีความ
.
ร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำ Super Computer มาใช้ในการประมวลผล เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ล่วงหน้า๗วัน ส่วนเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแม้จะมีข้อจำกัดเนื่องจากการควบคุมแหล่งกำเนิดหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นแต่ละประเภทเป็นอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานแต่การบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 การบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 ก็ถูกบรรุจไว้ในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระ
.
แห่งชาติฯ เช่นกัน โดยให้มีการบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม2567 นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามมติประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
.
จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรก2564จำนวนจุดความร้อนภายในประเทศลดลงมากถึงร้อยละ 50 และจำนวนวันที่ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานลดลงถึง 19 จังหวัด และไม่เกินค่ามาตรฐานเลยถึง 6 จังหวัด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563
.
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการแก้ไขPM2.5 ภาครัฐยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยมีนโยบายติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ครบทุกจังหวัดในอนาคตเพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาให้คลอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทย และพัฒนาระบบรายงานข้อมูลให้เข้าถึงง่าย แจ้งเตือนสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างถูกต้องแม่นยำ เตรียมพร้อมระบบ สาธารณสุข สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชนสร้างความเชื่อมั่นและการมีส่วนร่วมในการลดแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองและร่วมมือกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังนำประเทศไทยสู่ประเทศไร้ฝุ่น อากาศบริสุทธิ์ เพื่อ สุขภาพและความผาสุขของประชาชนต่อไป
.
สามารถรับชมวีดีโอได้ที่ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=ZcRDkY5r6VY